เจาะลึก ! อาชีพนักเขียนอิสระ (Freelance Writing) ที่หลายคนยังไม่รู้

Freelance Writing

“นักเขียนอิสระ” คือ อาชีพยอดนิยมที่ถูกแนะนำในฐานะที่เป็นอาชีพที่มีการทำงานแบบ Remote Work คือสามารถทำงานจากสถานที่ใดก็ได้เพียงเป็นผู้ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ก็สามารถสร้างรายได้เข้ากระเป๋าแบบง่าย ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วอาชีพนี้อาจไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด นักเขียนอิสระ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามการแบ่งประเภทงานเขียน คือ Fiction (การเขียนบทประพันธ์ นวนิยาย นิทาน) และ Non fiction (การเขียนเชิงสารคดี/ให้ความรู้) โดยนักเขียนแต่ละประเภทสามารถแบ่งออกเป็นสาขาย่อยได้อีกหลายสาขา เช่น นักเขียน Fiction แบ่งเป็น นักเขียนนิยาย, นักเขียนนิทานและนักเขียนร้อยแก้ว ร้อยกรอง และนักเขียน Non fiction แบ่งเป็น นักเขียนบทความทั่วไป เซียนสเต็ป สุขภาพ อาหาร การใช้ชีวิต และนักเขียนบทความ SEO

รายได้ของนักเขียนอิสระมีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น นักเขียนนิยายอาจเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์จากการอ่าน หรือได้รับรายได้จากการขายไปสร้างเป็นภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์หรือการ์ตูน ส่วนนักเขียนบทความ SEO อาจได้รับรายได้จากการรับจ้างเขียนบทความ หรือได้รับรายได้จากการทำ Affiliate Marketing หรือการขายคอร์สสอน เป็นต้น ทำให้รายได้ของนักเขียนอิสระจึงมีตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักล้านได้

ข้อดี – ข้อเสีย ในการประกอบอาชีพนักเขียนอิสระ

ข้อดีของการเป็นนักเขียนอิสระ คือ ความอิสระในการทำงานที่ช่วยให้เกิดความสร้างสรรค์มากกว่าการทำงานประจำแต่ก็มีข้อเสียตรงที่รายได้ไม่แน่นอนและหากเป็นผู้ที่ไม่วางแผนการทำงานให้ดีอาจทำให้อาชีพนี้จบลงง่าย ๆ เช่นกัน

อยากเป็น นักเขียนอิสระ ต้องทําอย่างไร?

  1. ค้นหาตัวเองให้เจอ สิ่งแรกที่ควรทำ คือการตรวจสอบความถนัดของตัวเองว่ามีความถนัดทางสายไหนมากกว่ากันด้วยการลงมือเขียนงานทั้ง 2 ประเภท จากนั้นให้คนใกล้ตัวลองอ่านและให้ความเห็นว่างานแบบไหนดีกว่ากัน รวมถึงสังเกตตัวเองด้วยว่าเวลาเขียนงานประเภทไหนรู้สึกดีกว่ากัน แต่หากรู้สึกไม่ดีกับการเขียนงานทั้ง 2 ประเภท อาจเป็นเพราะไม่มีความถนัดในการเขียนได้
  2. เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานเขียน การเขียนงานให้ออกมาดีไม่ได้มีเพียงการวางโครงเรื่อง การหาข้อมูลแต่หมายความรวมถึงการเรียบเรียงประโยค การสะกดคำที่ถูกต้องเพราะเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียน
  3. ฝึกฝน แก้ไขและพัฒนา การจะเป็นนักเขียนอิสระที่สามารถสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพจะต้องผ่านการฝึกฝน แก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
  4. หาช่องทางเผยแพร่งานเขียน เมื่อเขียนงานออกมาแล้วก็ต้องหาช่องทางในการเผยแพร่ผลงานด้วย สำหรับงานเขียนเชิงนวนิยายสามารถโพสต์งานเขียนลงในเว็บไซต์ Dek-D, Joylada, ธัญวลัย, Meb, Fictionlog และ แจ่มใส ส่วนงานเขียนแบบ Non fiction สามารถนำบทความไปโพสต์ได้ใน Wikipedia, Blockdit, Pantip และ Facebook

นักเขียนอิสระ อาชีพที่เริ่มต้นง่าย ใครก็สามารถทำได้เพียงหมั่นฝึกฝน เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเภทงานเขียนและนำผลงานเผยแพร่ลงช่องทางที่เหมาะสมก็สามารถสร้างรายได้เข้ากระเป๋าได้