พญานาค ความศรัทธา จากศาสนาสู่วิถีเศรษฐกิจชุมชน

พญานาค

พญานาคเป็นสัตว์ในตำนานซึ่งยังไม่มีใครเคยพบเห็นหรือพิสูจน์ได้ แต่ทว่ามีจารึกตำนานความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคที่ผูกพันกับพุทธศาสนาและวิถีชีวิตของผู้คนมาช้าอย่างนาน ดังเช่น ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งมีความเก่าแก่และยาวนานก่อนสมัยพุทธกาล คัมภีร์ได้กล่าวถึง ชาติกำเนิด อำนาจฤทธิ์เดช ถิ่นที่อยู่ รูปร่างและอุปนิสัยของพญานาคไว้อย่างชัดเจน ในทศชาติสุดท้ายก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ฯ และแม้ว่ายุคสมัยจะแปรเปลี่ยนไป ความศรัทธาในองค์พญานาคกลับยิ่งทวีความชัดเจนมากขึ้น ด้วยความสำเร็จหลากหลายโครงการอันเกิดจากนาคาบันดาล แสดงให้เห็นบทพิสูจน์แห่งความศรัทธาจากตำนานในพระพุทธศาสนาที่ถูกนำมาใช้เป็นกุศโลบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนให้เจริญขึ้นได้ ดังตัวอย่างของความศรัทธาจากพญานาค ดังต่อไปนี้

มีบางตำราสืบค้นได้พญานาคว่ามีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย เพราะมนุษย์เกรงกลัวพิษร้ายของงู จึงให้ความเคารพนับถือและบูชางู ส่วนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อกันว่า แม่น้ำโขงเป็นปากทางเข้าสู่เมืองบาดาล มีเรื่องราวจากภูริทัตชาดก พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นภูริทัตตนาคราช รวมถึงมีเรื่องที่พญานาคได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา จนปรากฏอยู่ในพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการขอบวชในพระพุทธศาสนา และปรากฏเป็นงานพุทธศิลป์อย่างเช่น พระพุทธรูปปางนาคปรก ในส่วนของวัฒนธรรมอีสาน พบว่าชาวอีสานความศรัทธาและผูกพันกับพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณี เช่น งานบุญบั้งไฟ ไหลเรือไฟ พิธีบูชาพญาสัตตนาคา และประเพณีเหล่านี้ถือเป็นวิธีอันแยบยลในการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น ความเชื่อและความศรัทธาในองค์พญานาค ที่เป็นแรงผลักดันให้ เด็กชายลูกช่างทอง กลายมาเป็นเจ้าของผลงานเครื่องประดับซึ่งเป็นที่ยอมรับและนิยมอย่างแพร่หลายในวันนี้ และด้วยจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทำให้เขาได้มีส่วนในการสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ให้กับบ้านเกิด คือ “เกศพระพุทธรูปหลวงปู่ดำ” พระประธาน ณ พระอุโบสถ วัดพระธาตุบังพวน จ.หนองคาย นายพ ลั ฎ ฐ์ กุ ล จิ ต ติ เ ศ ร ษ ฐ์ กวงทอง จ.หนองคาย เป็นที่รู้จักในฐานะเจ้าของร้านกวงทอง จ.หนองคาย ผู้ที่ผสมผสานงานศิลปะกับความศรัทธาที่มีต่อองค์พญานาคอย่างวิจิตรบรรจง เป็นผลงาน “ตลับพระลาย 15 ค่ำ” ต่อยอดธุรกิจของครอบครัว ด้วยแรงบันดาลใจจากความศรัทธาของชาวหนองคายที่เชื่อว่า พญานาคจะแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ด้วยการพ่นลูกไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษาของทุกปี

ศิลปะเชิงช่างอันวิจิตรนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังของความฝีมือและความรู้ที่สืบทอดจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก ผสานพลังความศรัทธาในองค์พญานาคของลุ่มน้ำโขง จ.หนองคาย บนพื้นฐานแห่งความขยันซื่อสัตย์อดทนและไม่ยอมจำนนต่ออุปสรรค นำพาชีวิตของคนในครอบครัวมีความสุขและความเจริญงอกงามขึ้นโดยลำดับ ทั้งยังส่งต่อพลังแห่งความศรัทธานี้ไปสู่การสร้างงานฝีมือในชุมชน และกระจายรายได้ต่อยอดสู่การพัฒนาภูมิปัญญาผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดหนองคาย ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนให้กลับมาเข้มแข็งในแนวทางที่ยั่งยืน

แม้หลายคนจะมีคำถามว่า พญานาคจะคุ้มครองผู้มีศรัทธาจริงหรือ คำตอบที่ดีที่สุด ทุกคนรู้อยู่แก่ใจ ดังเช่น ความหมายของการความเพียรและการทำความดีอย่างไม่ลดละของพระพุทธเจ้า ทำให้พญานาคมุจลินทร์เกิดความเลื่อมใสศรัทธา และปกป้องพระองค์ขณะที่ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในระหว่างที่เกิดพายุฝนตกหนัก ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม เช่นเดียวกับความศรัทธาของมนุษย์ที่สามารถนำพาชีวิตของตนไปสู่ความสำเร็จ มีชื่อเสียงและยังสามารถต่อยอดสร้างรายได้ให้กับวิถีเศรษฐกิจของชุมชนบ้านเกิดได้อย่างน่าภาคภูมิใจ